วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

บทความ 4G อีกก้าวของเทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยี 4จี ( Forth Generation ) กำลังเป็นกระแสที่คนไทยหลายๆ คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจ แม้ตอนนี้บ้านเราจะอยู่ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 4จี ควบคู่กันไปด้วย
 เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี 3จี  จึงมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps (1Gbps) หรือเร็วกว่าเทคโนโลยี 3จี มากถึง 7 เท่า สามารถเชื่อมต่อในรูปแบบ เสมือนจริงหรือ 3มิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และสถานีฐานที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่ม สูงขึ้นถึง 100 Mbps เร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถชมโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยผ่านระบบ Video Call ของโทรศัพท์ ได้อย่างคมชัด ไม่กระตุกหรือดีเลย์ สามารถส่งไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง รับชมการถ่ายทอดสด แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที บริการ cloud service  สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจพลิกวงการธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
               ปัจจุบันเทคโนโลยี 4จี มีการทดลองใช้แล้วในหลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ สำหรับไทยนั้นเพิ่งเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่าย เอกชน กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเพียงการทดสอบในเชิงเทคนิคชั่วคราว โดยมิได้แสวงหากำไรผ่านการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชน นักเรียนนักศึกษา ได้ทำการทดสอบด้วย  ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทดสอบในครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ที่เรียกได้ว่าปัจจุบัน

ข้อดี
ช่วยทำให้การ Online ทุกที่ทุกเวลาด้วยระดับคุณภาพบริการ Hi-speed เป็นไปได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้นด้วยข้อดีของบริการดังนี้

1. มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่าย 3G ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องโทรศัพท์ (Always On) 
2. การคิดค่าบริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น แตกต่างกับระบบทั่วไปที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่ Login เข้าในระบบเครือข่าย 
3. อุปกรณ์สื่อสารไร้สายมีรูปแบบอื่นๆ Plamtop, PDA, Laptop และ PC 
4. รับส่งข้อมูลในความเร็วสูงรวดเร็ว ทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก แสดงแผนที่ตั้งเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

ข้อเสีย
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มาก มีบุคคลทุกเพศทุกวัย แทบทุกอาชีพที่ใช้งาน ข้อมูลที่สามารถใช้ได้กับบุคคลวัยหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับบุคคลอีกวัยหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กภัยที่เกิดจากการติดต่อกับ แปลกหน้า ซึ่งมีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือต้อข้อมูลส่วนตัวของเราสื่อลามกอนาจาร การพนันเข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายเป็นช่องทางของมิจฉาชีพ ล่อลวง ลักพาตัวจากการchat ทำให้เกิดการใช้ภาษาผิดๆได้จากการเล่นพูดคุย สื่อสารผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์

ผลกระทบต่อสังคม
ปฏิวัติสังคมและวัฒนธรรม
              การหลอมรวมเทคโนโลยีที่เกิดจากเทคโนโลยี 3G เกิดจากการพัฒนาขีดความสามารถในด้านความเร็วของการดาวน์โหลดข้อมูล (Capacity) และการพัฒนาขีดความสามารถด้านความเร็วในการเคลื่อนที่ (Mobility) ของอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารและปฏิสัมพันธ์กันได้ในขณะเคลื่อนที่ ประกอบกับทำให้เกิดการหลอมรวมกันอย่างแนบแน่นระหว่างเครื่องคำนวณ (Computing devices) สื่อ (Media) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าข้อมูลจะอยู่ที่ใดในโลก และเปลี่ยนวิธีการสร้างสื่อ บริโภคสื่อ เรียนรู้และปฏิสัมพันธ์กันในขณะเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา จนเกิดพลังอำนาจของปัจเจคบุคคลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยลักษณะของการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในส่วนของสังคมได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นสังคมของผู้รับรู้ข่าวสารและผู้สร้าง ข่าวสารในเวลาเดียวกัน เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ข้ามวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Social Network ที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันอย่างอัตโนมัติกับผู้คนได้ทั่วโลก สามารถรับส่งข่าวสารไปยังผู้รับโดยอัตโนมัติแบบ Real time ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างไม่มีขีดจำกัด ส่งผลให้ในอนาคตจะเกิดการหลอมรวมกันทางวัฒนธรรม จนเราไม่สามารถรักษาวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้อีกต่อไป
  
ปฏิวัติโลกธุรกิจ
              การหลอมรวมเทคโนโลยีทำให้เกิดการแข่งขันของอุตสาหกรรมภาคการผลิตและการให้บริการ ซึ่งแต่เดิมเคยแยกกันอยู่คนละตลาด แต่แล้วพัฒนาการอันรวดเร็วของเทคโนโลยี 3G และอินเทอร์เน็ต ก็เป็นตัวเชื่อมโยงให้มาอยู่ในตลาดเดียวกัน แข่งขันกัน และแม้กระทั่งรวมตัวกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนได้แล้ว  ยังนำมาซึ่งความสะดวกสบาย  ความหลากหลายของบริการทางเลือกที่เพิ่มขึ้น  รวมถึงผลประโยชน์จากบริการใหม่ๆ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำและจะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ อย่างไม่คาดฝันมาก่อน  จนทำให้เกิดโอกาสการทำธุรกิจใหม่ๆ เกิดการสร้างงานใหม่ๆในตลาดธุรกิจใหม่อย่างมหาศาล ดังนั้นหากภาครัฐไม่มีความชัดเจนที่จะนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ บรอดแบนด์มาใช้เป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ ก็อาจทำให้ประเทศของเราสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างรวดเร็วผลกระทบด้านภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ
              มีตัวอย่างมากมายที่เทคโนโลยี 3G เป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่BlackBerry (BB) ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงในระดับสากล เนื่องจาก BB มีขีดความสามารถในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลออกนอกประเทศ ยากที่จะทำการตรวจสอบได้ ดังนั้น จึงเป็นช่องทางใหม่ของผู้ก่อการร้ายในการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อก่อการ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจจับของรัฐบาล และมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาซอฟท์แวร์ให้มีความชาญฉลาดจนสามารถนำมาเป็น เครื่องมือโจมตีเซอร์ฟเวอร์ขององค์กรต่างๆ และยังสามารถสร้างองค์กรก่อการร้ายเสมือนบนเครือข่ายได้อีกด้วย นอกจากนี้ข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในต่างประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตทางกฎหมายของประเทศ จึงยากที่หน่วยงานความมั่นคงจะนำมาใช้เพื่อหาผู้กระทำความผิด ดังนั้นหากภาครัฐขาดวิสัยทัศน์ในการใช้งานและการควบคุมอย่างสมดุล ก็จะส่งผลกระทบ
อ้างอิง

รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

  รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค   อ.ปาล์ม
 นายกฤษกร สุวรรณวงศ์   เอฟ
 นายจตุพงค์ ณ สงขลา   พงค์
 นายจิรกิตต์ สุขเกษม   บอย
 นายจิรพงศ์ แจ่มศรี   เอฟ
 นายชัยยงค์ ชูแก้ว    ปั้ม
 นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์   ชาย
 นายตวิษ เพ็งศรี   บ่าว
 นายธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์   วุฒิ
 นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด   เอ็กซ์
 นายนันทปรีชา ปิยะบุญสนอง   โปร  
 นายนิรันดร์ เสมอพบ   แบ
 นายนิโรจน์ หวันปรัตน์   ซอล
 นายปภังกร เอียดจุ้ย   กิ๊ป
 นายปรินทร์ ผุดผ่อง    บอล
 นายพิชชากร มีบัว   กร
 นายพีระพงศ์ จันทร์ชู   พงศ์
 นายภาคภูมิ จุลนวล   เจ
 นางสาวเยาวเรศ ร่วมพรภาณุ   โรส
 นายรชต อารี   รอน
 นายรุสดี วาลี   ซี
 นายวงศธร อินทมะโน   พี่หมีด
 นายวสุ ราชสีห์   หนัง
 นายวัชรินทร์ เขียนวารี    ปอน
 นายวิฆเนศ ณ รังษี   หมู
 นายวิโรจน์ เหมมาน   ลิฟ
 นายศุภวัฒน์ ไชยของพรม   รุส
 นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ    ทู
 นายสมศักดิ์ มากเอียด    กล้วย
 นายสราวุฒิ เกบหมีน    ซอล
 นายสานิต มิตสุวรรณ     ปอ
 นายสุรเดช สม่าแห   ยา
 นายสุรศักดิ์ สะเกษ   โจ้
 นายเสะมาดี ตูแวดาแม  เสะมาดี
 นายอนิรุตต์ ภาระบุญ   โต๋
 นายอนุพงษ์ เทพพรหม
 นายอภิเดช ทองอินทร์   โหนด
 นายอภิวัฒน์ เจิมขวัญ   กุ้ง
 นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ   ดุล
 นายอับดุลรอมัน บูกา
 นายอับดุลเลาะ กาโฮง   เลาัะ
 นายอาคม เรืองกูล   แบงค์
 นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
 นายอานนท์ นาควิเชียร   นนท์
 นายอาลียะ สะอุ   ฟาน 
 นายอาหามะซุบฮี จะแน   มะ
 นายอิสมาแอ มะยี   แอ
 นายธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์  วุฒิ
 นายจตุรงค์  หิรัญกูล  นิว
 นายเกรียงศักดิ์  บุญประเสริฐ  เบียร์
 นายวุฒิพงศ์ หนูนอง  เพชร

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ อนุพงษ์  เทพพรหม รหัส 565702035 ไฟฟ้าอุตสาหกรรม
ชื่อเล่น ทิว
บ้านเกิด 75/1 ม.2 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 96110

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม

1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด แบบผสม(Hybird Network) หมายถึง

-เชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงานด้วยกัน คือ จะมีเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยหลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่าย เล็ก-ใหญ่หลากหลาย แบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัดหรืออาจจะอยู่คน ละประเทศก็เป็นได้
2. หน้าที่การทำงาน
-เชื่อมต่อผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
-โมเด็ม (Modem)ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
-สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)
เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย
-เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิด กันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น
-เกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
4. การทำงานยังไง
- เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่หลากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
ตัวอย่าง เช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่างๆ สาขาหนึ่งอาจจะใช้เครือข่ายแบบดาว อีกสาขาอาจจะใช้เครือข่ายแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจจะใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น
5. ข้อดีข้อเสียของแบบผสม(Hybrid Network)
-ข้อดี
1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
2. สามารถขยายระบบได้ง่าย
3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย

-ข้อเสีย
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเนตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

6. ข้อคิดเห็นของเรา ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการทำไมเราถึงเลือกการเชื่อมต่อจุดต่อจุดแบบผสม(Hybird)และไม่เลือกเพราะอะไร
-เหตุผลที่เลือกเพราะ แบบผสมนั้นได้เอาการเชื่อมต่อหลายๆแบบมารวมกันซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพสุงสูดในการทำงาน เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่าย เล็ก-ใหญ่หลากหลาย แบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัดหรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
-เหตุผลที่ไม่เลือกเพราะ อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย